หยิน-หยางและฮวงจุ้ย



ตามปกติฮวงจุ้ยจะดีหรือไม่ดีนั้นขึ้นอยู่ที่ความสมดุลของพลังหยิน-หยางเป็นหลัก ฮวงจุ้ยที่ดีสำหรัฤบที่อยู่อาศัยของคนควรเป็นสมดุลที่พลังหยินมากกว่าพลังหยาง


พลังหยินและพลังหยางมีการเปลี่ยนแปลงกันไปมาอยู่ตลอดเวลาจากพลังหยางไปเป็นพลังหยินและจากพลังหยินไปเป็นพลังหยาง ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงฮวงจุ้ยก็ทำโดยการคำนึงถึงการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพลังหยิน-หยาง และภายหลังจากการ ปรับหรือเปลี่ยนแปลงฮวงจุ้ยแล้วก็ยังต้องคอยตรวจตราดูแลอย่างสม่ำเสมอเพราะ ฮวงจุ้ยจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาไม่คงตัว


แสงสว่างมาก แดดจัด เสียงดัง ผู้คน ขวักไขว่เป็นภาวะหยาง


ความมืด เงามาก ความเงียบเป็นภาวะหยิน


ภายในอาคารบ้านเรือนภาวะหยิน-หยางมีผลกระทบต่อการเคลื่อนตัวของพลังโดยเฉพาะเมื่อเป็นภาวะหยินมากพลังจะหยุดนิ่งอุดตันทำให้ฮวงจุ้ยเสีย การแก้ไขหรือปรับฮวงจุ้ยที่เกิดขึ้นจากภาวะหยินมากไปทำได้โดยการเพิ่มหรือกระตุ้นด้วยภาวะหยาง เช่น ถ้าบ้านเงียบเหงา ห้องมืดและเย็นก็อาจแก้ไขได้โดยการเปลี่ยนสีห้องใหม่ให้เป็นสีสว่าง เปิดวิทยุทิ้งไว้ตลอดทั้งวัน เลี้ยงแมว เลี้ยงสุนัข เลี้ยงปลาในตู้ที่ปล่อยฟองอากาศตลอดเวลา ซึ่งทั้งหมดนี้คือการเสริมภาวะหยางให้เพิ่มมากขึ้น


อาคารบ้านเรือนที่มีฮวงจุ้ยดีจะต้องมีภาวะหยางมากกว่าภาวะหยินแต่ถ้ามีมากเกินไปก็จะทำให้ฮวงจุ้ยเสียได้เช่นกัน รวมทั้งทำให้ผู้อยู่อาศัยสูญเสียกำลังโดยการเพิ่มภาวะหยินเข้าไป เช่น ปรับลดแสงลง ใช้เครื่องเรือนที่มีสีมืดๆ ทึมๆ ติดตั้งและปิดม่าน เป็นต้น


การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลก็มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงภาวะสมดุลของหยิน-หยาง ภายในบ้านเรือน ดังนั้นจึงต้องคอยตรวจสอบและทำการแก้ไข เช่น เมื่ออากาศหนาว มีหมอกหรือฝนตกเป็นภาวะหยินมากควรเปิดไฟให้สว่าง เปิดวิทยุหรือเพลง และถ้าวันไหนมีแดดจัด อากาศร้อนอบอ้าวเป็นภาวะหยางมากควรเปิดพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ดูเหมือนเป็นสิ่งธรรมดาสามัญจนกระทั่งหลายๆ คนไม่ได้ให้ความสนใจเท่าที่ควร การเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่ามากน้อยขนาดไหนย่อมมีผลกระทบต่อ ฮวงจุ้ยทั้งสิ้น